การเดินทางของวัคซีน: จากการวางแผนสู่การปฏิบัติการกระจายวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
การเดินทางของวัคซีน: จากการวางแผน สู่การปฏิบัติการกระจายวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหนึ่งในทางออกจากวิกฤตโควิด-19 คือ วัคซีนและการที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในระดับสูง จำเป็นที่จะต้องมีการฉีดวัคซีนราวหนึ่งหมื่นล้านโดสทั่วโลกภายในสิ้นปี 2564 ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงความท้าทายครั้งใหญ่ด้านลอจิสติกส์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สถานการณ์การแพร่ระบาดตอกย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของเครือข่ายลอจิสติกส์ระหว่างประเทศในการรองรับระบบซัพพลายเชนให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องจนถึงการจัดส่งสิ่งของจำเป็นถึงปลายทาง วันนี้ประเทศไทยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ไบออนเทคแล้วรวม 3.5 ล้านโดส ซึ่งขนส่งโดยดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส โดยในจำนวนนี้เป็นวัคซีน 2 ล้านโดสที่มาถึงไทยในวันที่ 29 กันยายน จนถึงปัจจุบันดีเอชแอลได้จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กว่า 1 พันล้านโดสไปยัง 160 ประเทศทั่วโลก นับได้ว่าดีเอชแอลมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้มาตลอด บริษัทได้ส่งมอบบริการที่รวดเร็ว และน่าเชื่อถือสำหรับการขนส่งวัคซีนซึ่งมีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการรักษาระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อผู้คนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ดีเอชแอลจะยังเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain infrastructure) ทำงานร่วมกับเครือข่ายระดับโลกที่แข็งแกร่ง เพิ่มพูนความรู้ด้านลอจิสติกส์ และประสบการณ์ของพนักงานดีเอชแอลอย่างต่อเนื่อง โลกจะสามารถเอาชนะการแพร่ระบาดได้เร็วเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ “การกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ” ดีเอชแอลดำเนินการอย่างจริงจังตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาในการสร้างและขยายเครือข่ายระดับโลกสำหรับการขนส่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการสินค้าเพื่อสุขภาพ (Life Sciences & Healthcare – LSH) และตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องเริ่มจริงจังกับการแก้ไขอุปสรรคด้านลอจิสติกส์ในอนาคตอันใกล้ จากผลการศึกษาของดีเอชแอลเรื่อง Revisiting Pandemic Resilience โครงสร้างระบบลอจิสติกส์และความสามารถในการรองรับสถานการณ์แพร่ระบาดเป็นสิ่งที่ยังคงต้องรักษาระดับคุณภาพไว้ เพราะประชากรโลกยังคงต้องการวัคซีนถึง […]
โรคไหนฉีดวัคซีนโควิด “ได้” และ “ไม่ได้”
โรคไหนฉีดวัคซีนโควิด “ได้” และ “ไม่ได้” สำหรับใครที่กังวลว่าโรคประจำตัวที่ตัวเองเป็นอยู่ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม หรือไม่มีโรคประจำตัวแต่ไม่มั่นใจว่าฉีดวัคซีนได้หรือเปล่า ถ้าจะฉีดต้องเตรียมตัวอย่างไร มาหาคำตอบกัน (คนที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินว่าฉีดแล้วมีประโยชน์มากกว่าเสี่ยง) โรคไหนฉีดวัคซีนโควิดได้ สำหรับ 7 โรคนี้ แพทย์เคาะแล้วว่าควรฉีดวัคซีนโควิด แต่ควรบอกบุคลากรที่ฉีดก่อน หรืออาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อความมั่นใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้น โรคไตวายเรื้อรัง โรคไหนฉีดวัคซีนโควิดไม่ได้ โรคที่ห้ามฉีดวัคซีนวัคซีนโควิด ได้แก่ โรคเรื้อรังที่ยังควบคุมไม่ได้ และอาการไม่คงที่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เคมีบำบัด ต้องหยุดยาบางตัวก่อนหรือหลังฉีดวัคซีน มีภาวะเลือดออกง่าย หยุดไหลยาก เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด กำลังป่วย โรคประจำตัวกำเริบ จะฉีดวัคซีนโควิดได้ก็ต่อเมื่ออาการป่วยหายแล้ว โรคเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เป็นแล้วจะมีอาการหรือต้องรักษาติดต่อกันนาน ส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดเชื้อ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพาต โรคหัวใจ โรคหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง […]