LATEST

วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

ค้นหาคำตอบ! วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวเรียนอะไร | Advertorial

ค้นหาคำตอบ! วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวเรียนเกี่ยวกับอะไร | Advertorial หลักสูตรวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในศาสตร์ต่าง ๆ เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของร่างกายในการเคลื่อนไหวในท่วงท่าต่าง ๆ เพื่อทำการป้องกันและฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ ด้วยองค์ความรู้ที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน ทำให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวสามารถประกอบอาชีพได้หลายแขนง ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ในปัจจุบันมีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ท่ามกลางกระแสความสนใจในการออกกำลังกายและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่เพิ่มขึ้น วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวจึงกลายเป็นหลักสูตรที่น่าจับตามอง ด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของร่างกายมนุษย์ที่ช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และมีจำนวนผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และปัญหากระดูกและข้อเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพซ้ำซ้อน หลักสูตรวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวจึงถูกออกแบบมาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ครอบคลุมทุกมิติในการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วย และเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวเรียนอะไร วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว (Kinesiology) คือ การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ โดยมุ่งเน้นที่การทำงานร่วมกันของ กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ และระบบประสาท ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้เข้าใจการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์เพื่อป้องกันและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บได้อีกด้วย เบื้องต้นหลักสูตรวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวจะประกอบไปด้วยวิชาหลัก ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความเข้าใจในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นการศึกษาโครสร้าง ของร่างกาย ที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง […]

Education

เปิดโลกนักรังสีเทคนิค อาชีพมาแรงที่ตลาดต้องการ | Advertorial

เปิดโลกนักรังสีเทคนิค อาชีพใหม่มาแรงที่ตลาดต้องการ | Advertorial นักรังสีเทคนิค หรือ นักรังสีการแพทย์ คือผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจ วิเคราะห์ และรักษาด้วยเครื่องมือทางรังสี โดยแบ่งเป็น 3 สายหลัก ได้แก่ รังสีวินิจฉัย, รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อาชีพนักรังสีเทคนิคยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากอัตราการผลิตบัณฑิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้บัณฑิตมีงานรองรับทันที และมีการเติบโตในสายงานอย่างต่อเนื่อง โดยนักรังสีเทคนิคจำเป็นต้องเรียนจบสาขาวิชารังสีเทคนิค ซึ่งปัจจุบันมีหลายสถานบันชั้นนำในประเทศไทยที่เปิดสอน เช่น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น ในปัจจุบัน ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์ในตลาดแรงงานยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยให้เพียงพอ โดยเฉพาะสายงานวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาชีพ ‘นักรังสีเทคนิค’ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะไม่เพียงแต่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสเติบโตในสายอาชีพอย่างต่อเนื่อง ทำความรู้จักนักรังสีเทคนิค นักรังสีเทคนิค หรือ นักรังสีการแพทย์ คือผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการทางการแพทย์ในการตรวจ วิเคราะห์ และรักษาด้วยเครื่องมือทางรังสี รวมถึงการดูแลความปลอดภัยของตนเอง คนไข้ ญาติ และผู้ร่วมปฏิบัติงานจากอันตรายของรังสี โดยอาชีพรังสีเทคนิคสามารถแบ่งสายงานออกได้เป็น 3 สาย […]

Education
สาขาฉุกเฉินการแพทย์ เรียนอะไร

เส้นทางการเรียนสู่โอกาสอาชีพ ‘ฉุกเฉินการแพทย์’ | Advertorial

ส่องเส้นทางการเรียนสู่โอกาสอาชีพ ‘ฉุกเฉินการแพทย์’ | Advertorial นักฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) คือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการด้านให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก่อนที่จะส่งต่อผู้ประสบภัยให้แพทย์รักษา แต่ปัจจุบันยังคงมีบุคลากรไม่เพียงพอต่อประชากร หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ มี 3 รูปแบบหลัก คือ ปริญญาตรี 4 ปี, ปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) 2 ปี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2 ปี โดยครอบคลุมการเรียนทฤษฎี การฝึกปฏิบัติ และการลงพื้นที่จริง เพื่อเตรียมความพร้อมประกอบวิชาชีพ บัณฑิตจากหลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์สามารถเลือกทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น นักฉุกเฉินการแพทย์บนรถพยาบาล, ณ ที่เกิดเหตุ, ในห้องฉุกเฉิน, ในสนามแข่ง หรือเป็นผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ในปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ ได้แก่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยพะเยา, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ หรืออาการป่วยเฉียบพลัน ทุกคนอาจคุ้นเคยกับภาพของเหล่านักฉุกเฉินการแพทย์และหน่วยกู้ภัยที่พร้อมเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จนนับว่าเป็นหนึ่งวิชาชีพที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตของคนในสังคม แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ นักฉุกเฉินการแพทย์ ยังเป็นอาชีพที่ขาดแคลนบุคลากรแม้ว่าจะมีความต้องการสูง […]

Education