Search
Close this search box.

‘คอมมิวนิสต์’ ต่างจาก ‘เผด็จการ’ อย่างไร ทำไมคนเข้าใจว่าเหมือนกัน

เผด็จการvsคอมมิวนิสต์

‘คอมมิวนิสต์’ ต่างจาก ‘เผด็จการ’ อย่างไร ทำไมคนเข้าใจว่าเหมือนกัน แนวคิดคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์แบบให้เรานึกถึง “ยูโธเปีย” ที่เป็นโลกที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ทุกคนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล การจะเป็นสังคมในอุดมคติตามแนวคิดคอมมิวนิสต์ได้ต้องมีการปฏิวัติเท่านั้น! เมื่อปฏิวัติแล้วก็ยากที่จะยอมลงจากอำนาจ สุดท้ายก็กลายเป็นเผด็จการไปดื้อ ๆ เผด็จการ = การรวมอำนาจไว้ที่คน ๆ เดียว หรือคนกลุ่มเดียว ผู้นำมีสิทธิ์ใช้อำนาจได้เต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าระบอบเผด็จการกับคอมมิวนิสต์คืออย่างเดียวกัน ซึ่งก็ไม่แปลกที่คนทั่วไปคิดแบบนั้น เพราะบางประเทศที่บอกว่าตัวเองปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ก็ยังเหมือนเผด็จการอยู่ดี แต่ความจริงแล้วคอมมิวนิสต์กับเผด็จการนี่ต่างกันสิ้นเชิงเลยล่ะ Short Recap จะเล่าให้ฟังว่าเป็นยังไง แนวคิดคอมมิวนิสต์ ระบบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม มีแนวคิดมาจาก “คาร์ล มาร์ก” (Karl Marx) บางคนเรียก “ลัทธิมาร์กซิสต์” เขามองว่าสังคมที่มีชนชั้นทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะนายทุนเอาเปรียบชนชั้นกรรมาชีพ ต้องกำจัดนายทุนออกไป เพื่อให้ชนชั้นกรรมาชีพอยู่รอด ตามแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์แบบ (ย้ำว่าสมบูรณ์แบบ) ให้เรานึกถึง “ยูโธเปีย” โลกที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีระบบชนชั้น ไม่มีความเชื่อทางศาสนา ไม่มีรัฐ ไม่มีรัฐบาล และไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล ก็คือไม่มีใครเป็นเจ้าของอะไรทั้งสิ้น ทำงานมาได้ต้องเอาของมากองรวมกันแล้วแบ่งกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ถ้าจะเจริญก็เจริญให้เท่ากันทุกคน ชนชั้นปกครองทั่วโลกจึงกลัวและเกลียดคอมมิวนิสต์ […]