Search
Close this search box.
พฤติกรรมการทำงานที่ไม่พึงประสงค์

ปรับก่อนสาย! พฤติกรรมการทำงานแบบไหน ที่ใคร ๆ ก็ยี้ | Advertorial

  • ที่ทำงานเป็นสถานที่ที่รวมคนไว้หลากหลายพื้นเพ จึงจำเป็นต้องมีการปรับพฤติกรรมการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกัน
  • พฤติกรรมการทำงานที่ขาดวุฒิภาวะ เช่น การไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การไม่รับผิดชอบงาน และการขาดงานบ่อย ๆ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของทีมลดลง
  • นอกจากนี้ พฤติกรรมการทำงานที่ชอบให้ร้ายผู้อื่น ขาดน้ำใจ และหัวหน้างานที่ชอบบงการยังส่งผลให้บรรยากาศทำงานของทีมไม่ส่งเสริมกับทำงานร่วมกันอีกด้วย
  • ดังนั้น หากพบว่าตัวเองมีพฤติกรรมเหล่านี้ จึงควรปรับตัวก่อนที่ส่งผลร้ายแรงต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กรต่อไป

สังคมการทำงานคือศูนย์รวมของผู้คนจากร้อยพ่อพันแม่ และแต่ละคนย่อมเติบโตมาจากพื้นเพที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าใครจะเติบโตมาท่ามกลางสังคมแบบไหนก็ต้องการการปรับตัวเพื่อการทำงานบรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างราบรื่น ในบทความนี้ Short Recap จะพาทุกคนมาสำรวจพฤติกรรมการทำงานที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกไม่อยากร่วมงานด้วย เพื่อการปรับปรุงตัวก่อนที่ใคร ๆ ก็จะขยาด

พฤติกรรมการทำงานแบบนี้ไม่ดี…ไม่ควรทำตาม!

1. พฤติกรรมการทำงานที่ขาดวุฒิภาวะ

พฤติกรรมการทำงาน ขาดวุฒิภาวะ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้แนะนำว่า การให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานร่วมกัน การวิพากษ์วิจารณ์งานของเพื่อนร่วมงานไม่ใช่เรื่องต้องห้าม แต่ควรเป็นการติเพื่อก่อเท่านั้น รวมถึง หัวหน้างานก็ควรให้เกียรติผู้ร่วมงานเช่นกัน พฤติกรรมการทำงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันจะช่วยให้มีบรรยากาศการทำงานที่ดีและส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทุกคนให้พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าอย่างพร้อมเพรียง

2. พฤติกรรมการทำงานที่ขาดความรับผิดชอบ

พฤติกรรมการทำงาน ขาดความรับผิดชอบ

พนักงานแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การรับผิดชอบงานของตัวเองให้เสร็จตามกำหนดจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากคนใดคนหนึ่งละเลยงานของตัวเองอยู่บ่อย ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้อื่นในทีม นอกจากนี้ การปกปิดความจริงหรือปัดความรับผิดชอบของตนเองยังอาจสร้างปัญหาใหญ่ให้เพื่อนร่วมงาน จากการที่ไม่สามารถร่วมมือกันแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ยังบอกอีกว่าพฤติกรรมการทำงานเช่นนี้เป็นสิ่งที่องค์กรส่วนใหญ่ไม่อาจยอมรับได้

3. พฤติกรรมการทำงานที่ชอบให้ร้ายผู้อื่น

พฤติกรรมการทำงาน ชอบว่าร้าย

การให้ร้ายหรือนินทาผู้อื่นเป็นพฤติกรรมการทำงานที่บั่นทอนจิตใจได้ การพูดลับหลังหรือสร้างข่าวลือเท็จไม่เพียงแต่ทำให้เพื่อนร่วมงานหมดกำลังใจในการทำงานเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อการทำงานอีกด้วย

4. พฤติกรรมการทำงานของคนแร้งน้ำใจ

พฤติกรรมการทำงาน ไม่มีน้ำใจ

ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้เราจะบอกไปว่าการรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองเป็นพฤติกรรมการทำงานที่ดีต่อองค์กร แต่การมีน้ำใจช่วยเหลือกันก็เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตไปข้างหน้า เพราะถึงแม้ว่างานในส่วนของเราจะสำเร็จไปด้วยดี แต่หากงานของเพื่อนร่วมงานติดปัญหา องค์กรก็มิอาจบรรลุเป้าหมายไปได้

5. พฤติกรรมการทำงานขาด ลา มาสายครบ

พฤติกรรมการทำงาน ขาด ลา มาสาย

การลาถือเป็นสวัสดิการพื้นฐานของพนักงานทุกคน แต่หากพนักงานมีพฤติกรรมการทำงานที่ชอบลางานหรือขาดงานบ่อย ๆ อาจส่งผลให้ภาระงานตกอยู่ที่เพื่อนร่วมงาน และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กรลดลงได้

6. พฤติกรรมการทำงานของหัวหน้าบ้าอำนาจ

พฤติกรรมการทำงาน บ้าอำนาจ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้บอกว่าคุณสมบัติของผู้นำที่ดีไม่ใช่เพียงแต่เป็นผู้สั่งการเมื่อมีงานเข้ามาเท่านั้น แต่ยังควรเป็นคนที่คอยสนับสนุนการทำงานของทีม เพื่อช่วยให้ทีมบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และเมื่อเกิดปัญหาผู้นำควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบและแก้ไขร่วมกับทีม ไม่ใช่เอาแต่โยนความผิดไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะหากผู้นำมีพฤติกรรมการทำงานเช่นนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจไม่ไว้วางใจและทำให้ผลลัพธ์การทำงานออกมาในเชิงลบได้

หากพบว่าคุณคือหนึ่งคนที่มีพฤติกรรมการทำงานเหล่านี้ นี่อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มปรับตัว เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีและเป็นมืออาชีพ แล้วมาสร้างสังคมการทำงานที่ทุกคนอยากมีและประสบความสำเร็จไปด้วยกัน

SHARE

RELATED POSTS

ทริกการเลือกที่นั่งบนเครื่องบินอย่างไรให้สบายตลอดการเดินทาง การเลือกที่นั่งบนเครื่องบินเป็นสิ่งสำคัญที่นักเดินทางทุกคนไม่ควรมองข้าม เนื่องจากที่นั่งที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถเดินทางได้อย่างแฮปปี้ ก่อนที่จะทำการเลือกที่นั่งบนเครื่องบินคุณควรรู้หมายเลขไฟลต์…