โรคไหนฉีดวัคซีนโควิด “ได้” และ “ไม่ได้”
สำหรับใครที่กังวลว่าโรคประจำตัวที่ตัวเองเป็นอยู่ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม หรือไม่มีโรคประจำตัวแต่ไม่มั่นใจว่าฉีดวัคซีนได้หรือเปล่า ถ้าจะฉีดต้องเตรียมตัวอย่างไร มาหาคำตอบกัน (คนที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินว่าฉีดแล้วมีประโยชน์มากกว่าเสี่ยง)
โรคไหนฉีดวัคซีนโควิดได้
สำหรับ 7 โรคนี้ แพทย์เคาะแล้วว่าควรฉีดวัคซีนโควิด แต่ควรบอกบุคลากรที่ฉีดก่อน หรืออาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อความมั่นใจ
- โรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคอ้วน
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- โรคปอดอุดกั้น
- โรคไตวายเรื้อรัง
โรคไหนฉีดวัคซีนโควิดไม่ได้
โรคที่ห้ามฉีดวัคซีนวัคซีนโควิด ได้แก่
- โรคเรื้อรังที่ยังควบคุมไม่ได้ และอาการไม่คงที่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เคมีบำบัด ต้องหยุดยาบางตัวก่อนหรือหลังฉีดวัคซีน
- มีภาวะเลือดออกง่าย หยุดไหลยาก เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- กำลังป่วย โรคประจำตัวกำเริบ จะฉีดวัคซีนโควิดได้ก็ต่อเมื่ออาการป่วยหายแล้ว
โรคเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เป็นแล้วจะมีอาการหรือต้องรักษาติดต่อกันนาน ส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดเชื้อ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพาต โรคหัวใจ โรคหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ถุงลมพอง เป็นต้น
กรณีไม่ใช่โรคประจำตัว
ใครควรฉีดวัคซีนโควิด
- บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ควรรีบฉีด
- บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรด่านหน้าในการควบคุมโรค
- บุคคลที่มีอาชีพเสี่ยงสัมผัสผู้คนจำนวนมาก
ใครไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด
- เด็กหรือบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี
- หญิงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์
- หญิงให้นมบุตร วางแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบวัคซีนรุนแรง
- ผู้ที่เคยได้รับการถ่ายเลือด พลาสมา ยาต้านไวรัส หรือแอนติบอดีสำหรับรักษาโควิด – 19 ภายใน 90 วันที่ผ่านมา
- ผู้ที่ตรวจพบเชื้อโควิด – 19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา
- ผู้ที่เจ็บป่วยเฉียบพลัน นอนรักษารักษาตัว ออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน
การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19
- ไม่ควรอดอาหารหรือ Fasting ก่อนฉีด
- ไม่ควรกินดึก นอนดึก ก่อนวันที่ไปฉีด
- กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นแป้งเชิงซ้อน โปรตีนดี ไขมันดี
- งดดื่มแอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ
เช็กให้ชัวร์ก่อนฉีด ปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจว่าตัวเองฉีดได้หรือไม่ และเลือกวัคซีนที่ใช่เรา!
ฉีดแล้วใช่ว่าจะไม่ติดเชื้อ ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และหมั่นล้างมือ
สามารถดาวน์โหลด “คู่มือวัคซีนฉบับประชาชน” เพื่อศึกษาเรื่องการฉีดวัคซีน ได้ที่ https://bit.ly/3c2852T ในนี้บอกรายละเอียดครบถ้วนมาก ๆ เลยล่ะ